เครื่องปริ้นแบบต่างๆ
ใบงานที่5
เครื่องปริ้นเตอร์ (Printer)
เครื่องปริ้นเตอร์หรือ Printer คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในระบบของคอมพิวเตอร์ที่ทหน้าที่ในการพิมพ์ข้อมูล เอกสารหรือชิ้นงานต่างๆ ที่เรานั้นทำไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะออกมสู่วัสดุต่างๆ ที่เราต้องการ เช่น กระดาษ พลาสติก หรือวัสดุอื่นๆ โดยทั่วไปเราจะแบ่งเครื่องPrinterออกไปตามคุณสมบัติ และลักษณะการใช้งานเครื่องปริ้น ซึ่งเครื่องปริ้นเตอร์ที่นิยมใช้งานมีอยู่ทั้งหมด 3 ชนิด ดังนี้คือ
1.เครื่องปริ้นแบบหัวเข็ม Dot matrix Printer
2.เคื่องปริ้นแบบอิงค์เจต Inkjet Printer
3.เครื่องปริ้นเลเซอร์ Laser Printer
1.เครื่องปริ้นแบบหัวเข็ม(Dot matrix Printer)
เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดใช้แรกที่ถูกใช้งาน โดยการทำงานจะใช้หัวเข็มกระแทกเข้ากับผ้าหมึกส่งไปยังกระดาษ ซึ่งภาพเกิดขึ้นจากสีของน้ำหมึกซึมเข้าไปในผ้าหมึก ลักษณะการใช้งานจะมีเสียงดังมาก ซึ่งจะแตกต่างกับ เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท และ เครื่องปริ้นเลเซอร์ ที่จะไม่มีเสียงใดๆเลย
เครื่องพิมห์หัวเข็ม หมักใช้กับงานที่ต้องใช้สำเนา เพราะสามารถพิมพ์ได้ครั้งละหลายๆแผ่น ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเครื่องพิมพ์หัวเข็ม แต่จะไม่เหมาะอย่างมากในงานพิมพ์ที่มีความละเอียดสูง หรือต้องใช้รูปภาพ แต่ด้วยความทนทาน และราคาผ้าหมึกที่ถูก จึงทำให้เครื่องพิมพ์หัวเข็มยังเป็นที่นิยมอยู่บ้างในปัจจุบัน
เครื่องปริ้นแบบหัวเข็ม(Dot matrix Printer)เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้งานมากเนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็ม เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 180 ถึง 350 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที
ข้อดี
1.สามารถพิมพ์ครั้งเดียวได้ หลาย ๆแผ่น หรือหลาย COPY ถือว่าเป็นลักษณะเด่นของเครื่องพิมพ์แบบนี้
2.ประหยัดผ้าหมึกและผ้าหมึกมีราคาถูก และยังใช้ได้กับกระดาษต่อเนื่อง หรือ ชนิดแผ่นก็ได้ 3.อะไหล่ และ ค่าซ่อมมีราคาไม่สูงมาก
4.มีความแข็งแรงทนทานในการใช้งานสูง
ข้อเสีย
1.พิมพ์งานกราฟฟิค ที่มีความละเอียดมาก หรือพิมพ์ภาพสี ไม่ได้
2.พิมพ์งานได้ช้า และมีเสียงดัง
3.มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และ กินกระแสไฟฟ้ามาก 4.ในปัจจุบันราคาค่อนข้างสูง
2.เครื่องปริ้นแบบอิงค์เจต (Inkjet Printer)
เครื่องปริ้นแบบอิงค์เจต (Inkjet Printer) แต่เดิมสามารถพิมพ์ได้ 4 สีโดยใช้หมึกเติม แต่ในปัจจุบัน มีเพิ่มเข้ามา 6 สี หรือ 8 สี เพื่อลดปัญหาในการผสมสี แต่จะมี 4 สีเป็นแม่พิมพ์หลัก ซึ่งข้อดีของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท คือ ภาพที่ออกมากจะสวยงามกว่า เครื่องปริ้นเลเซอร์ ซึ่งจะดูมีความเป็นธรรมชาติ ความคมชัดสูง แต่จะใช้เวลาพิมพ์นานกว่า (Inkjet Printer) เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช่ร้านค้า หรือสำนักงาน เพราะการพิมพ์ไม่เยอะ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม นักศึกษา นักเรียน วัยเรียน แต่ก็จะมีบริษัทใหญ่บางบริษัทที่ใช้อิงค์เจ็ทเพราะเน้นงานที่มีความสวยงามเป็นหลัก เช่น สตูดิโอ
ข้อดี
1.ตัวเครื่องราคาถูกลงมาก
2.สามารถพิมพ์ภาพสี หรือ ภาพกราฟฟิกได้ดี
3.มีความเร็วและความละเอียดในการพิมพ์สูง
4.เสียงในขณะพิมพ์จะเงียบมาก
5.ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก และ มีน้ำหนักเบา
6.สามารถเติมน้ำหมึกเองได้ในราคาที่ไม่แพง
ข้อเสีย
1.อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับหัวพิมพ์อุดตันได้ง่าย
2.หมึกพิมพ์แท้มีราคาแพง
3.ราคาอะไหล่ค่อนข้างแพง
1.ตัวเครื่องราคาถูกลงมาก
2.สามารถพิมพ์ภาพสี หรือ ภาพกราฟฟิกได้ดี
3.มีความเร็วและความละเอียดในการพิมพ์สูง
4.เสียงในขณะพิมพ์จะเงียบมาก
5.ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก และ มีน้ำหนักเบา
6.สามารถเติมน้ำหมึกเองได้ในราคาที่ไม่แพง
ข้อเสีย
1.อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับหัวพิมพ์อุดตันได้ง่าย
2.หมึกพิมพ์แท้มีราคาแพง
3.ราคาอะไหล่ค่อนข้างแพง
4.ไม่นิยมซ่อมเพราะค่าซ่อมแพง
3.เครื่องปริ้นเลเซอร์(Laser Printer)
เป็นเครื่องปริ้นเตอร์ที่ใช้ผงหมึกทำงานร่วมกับแม่เหล็กไฟฟ้า และพลังไฟฟ้าสถิต โดยขับเคลื่อนด้วยลูกกิ้งที่มีพลังงานแม่เหล็ก ซึ่งจะทำหน้าที่ดูดผงหมึกเข้ามาให้ติดกับลูกกลิ้ง จากนั้น ผงหมึก ก็จะถูกรีดให้ติดกับลูกกลิ้งที่มีพลังไฟฟ้าสถิตอยู่ ซึ่งได้รับคลื่นไฟฟ้าจากคอมพิวเตอร์ และจึงให้ลูกกลิ้งรีดผงหมึกติดกับกระดาษ แล้วจึงออกมาเป็นภาพ (Laser Printer) นิยมใช้มากในสำนักงานต่างๆ โดยเฉพาะออฟฟิศ ธนาคาร บริษัทห้างร้าน ร้านค้าต่างๆ มักใช้เครื่องปริ้นเลเซอร์ นั่นก็เพราะว่าเครื่องปริ้นเลเซอร์ ใช้งานง่าย สะดวก และใช้เวลาพิมพ์รวดเร็ว โดยไม่ต้องรอนาน ต่างจาก เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ที่ต้องรอให้แห้ง ไม่สามารถโดนน้ำได้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่า สำนักงาน ส่วนใหญ่ใช้ เครื่องปริ้นเลเซอร์ นั่นเอง
เลเซอร์ปริ้นเตอร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้งานพิมพ์ที่ค่อนข้างละเอียด ทั้งงานพิมพ์รูปภาพและอักษร จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก หลักการทำงานเหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสารเพียงแต่ข้อมูลที่ใส่ให้กับเครื่องเลเซอร์ปริ้นเตอร์มาจากคอมพิวเตอร์แทนที่จะมาจากต้นฉบับ และแหล่งกำเนิดแสงก็ใช้แสงเลเซอร์แทนหลอดไฟ โดยที่แสงเลเซอร์จะกวาดลงบนลูกกลิ้งเซลีเนียม แทนการฉายด้วยแสงจึงสามารถโฟกัสภาพได้อย่างละเอียด และรวดเร็ว ดังรูป a บริเวณใดของลูกกลิ้งที่โดนแสงเลเซอร์ก็จะเปลี่ยนเป็นกลางทางไฟฟ้า ส่วนบริเวณที่ไม่โดนแสงจะมีประจุบวกอยู่ จากรูปภาพ บริเวณที่ไม่โดนแสงเลเซอร์เป็นอักษร A
ภาพส่วนประกอบภายใน
ตัวโมดูเลเตอร์จะคอยปิดเปิดแสงเลเซอร์ โดยได้รับสัญญาณจากคอพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง และมีกระจกหมุนช่วยให้แสงเลเซอร์กวาดไปบนลูกกลิ้ง ส่วนขั้นตอนอื่นก็เหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสารทุกประการ
ข้อดี
1.คุณภาพการพิมพ์มีความคมชัดมากที่สุด
2.มีความเร็วในการพิมพ์สูงที่สุด
3.เสียงในขณะพิมพ์จะเงียบมาก
4.ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก และ ราคาถูกลงมาก
5.เราสามรถเติมผงหมึกเองได้ไม่ยาก
ข้อเสีย
1.ไม่สามารถพิมพ์ภาพสีได้ หากพิมพ์ได้จะมีราคาแพงมาก
2.ตลับหมึกของแท้ราคาแพง แต่ปัจจุบันมีแบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้
3.ค่าอะไหล่ และ ค่าซ่อมค่อนข้างแพง
1.คุณภาพการพิมพ์มีความคมชัดมากที่สุด
2.มีความเร็วในการพิมพ์สูงที่สุด
3.เสียงในขณะพิมพ์จะเงียบมาก
4.ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก และ ราคาถูกลงมาก
5.เราสามรถเติมผงหมึกเองได้ไม่ยาก
ข้อเสีย
1.ไม่สามารถพิมพ์ภาพสีได้ หากพิมพ์ได้จะมีราคาแพงมาก
2.ตลับหมึกของแท้ราคาแพง แต่ปัจจุบันมีแบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้
3.ค่าอะไหล่ และ ค่าซ่อมค่อนข้างแพง
ปัจจุบันมีใช้งานและจำหน่ายหลายยี่ห้อ เช่น Hewllet Packard, Oki, Compaq, Epson เป็นต้น
พล็อตเตอร์(plotter)ใช้วาดหรือเขียนภาพสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง ๆ เนื่องจากพลอตเตอร์จะใช้ปากกาในการวาดเส้นสายต่าง ๆ ทำให้ได้เส้นที่ต่อเนื่องกันตลอด ในขณะที่เครื่องพิมพ์ทั่วไปจะใช้วิธีพิมพ์จุดเล็ก ๆ ประกอบขึ้นเป็นเส้น ทำให้ได้เส้นที่ไม่ต่อเนื่องกันสนิท พลอตเตอร์นิยมใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่ต้องการความสวย งามและความละเอียดสูง มีให้เลือกหลากหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจำนวนปากกาที่ใช้เขียนในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดามาก
ส่วนประกอบภายในของพล็อตเตอร์(plotter)
ส่วนประกอบภายในของพล็อตเตอร์(plotter)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น