พาวเวอร์ซัพพลาย(Power Supply)

  ใบงานที่3

พาวเวอร์ซัพพลาย(Power Supply)

     ปัจจุบันเพาเวอร์ซัพพลายที่จะนำมาใช้ควรมีกำลังไฟตั้งแต่ 400 วัตต์ขึ้นไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้าน (ประเทศไทย) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 200-250 VAC พร้อมกระแสไฟประมาณ 3.0-6.0 A และความถี่ที่ 50Hz ดังนั้นเพื่อให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์  คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ เพาเวอซัพพลายจะต้องแปลงแรงดันไฟ AC ให้เป็น DC แรงดันต่ำในระดับต่างๆ รวมถึงปริมาณความต้องการของกระแสไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆด้วย โดยระดับของแรงดันไฟ (DC Output) ที่ถูกจ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายแต่ละรุ่น/ยี่ห้อจะใกล้เคียงกัน แต่ปริมารสูงสุดของกระแสไฟ (Max Current Output) ที่ถูกจ่ายออกมานั้นอาจไม่เท่ากัน (แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ) ซึ้งมีผลต่อการนำไปคำนวลค่าไฟโดยรวม (Total Power) ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวนั้น จะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วย   
    
ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย 
      ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

1.AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน (พ.ศ. 2539) โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
2.ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้


2.1.ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
2.2.ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ 2.3.ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)
2.4.ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ 2.5.Micro ATX เท่านั้น




วิธีการเลือกซื้อแบบง่ายๆ

  ที่บอกมาทั้งหมดนั้นมันอาจจะดูเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากเกินกว่าจะใช้เวลาอันสันในการทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตามมันก็มีวิธีเลือกซื้อมาแนะนำ

1. พาวเวอร์ซัพพลายที่ซื้อควรจะเป็นมาตรฐาน ATX 2.x

2. เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์สำหรับเมนบอร์ดแบบ 24 pin หรือแบบ 20+4 pin

3. เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์ AUX 12 โวลต์ 4 pin อย่างน้อย 1 เส้น หรือถ้าคอมพิวเตอร์เราเป็นแบบประสิทธิภาพสูงเช่นต้องการใช้กับซีพียูแบบ Quad-Core ก็ให้เลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มี AUX 12 โวลต์แบบ 8 pin หรือถ้าจะให้ดีมันมีพาวเวอร์ซัพพลายบางรุ่นจะมีคอนเน็คเตอร์ AUX 12 โวลต์ แบบ 4+4 ให้ใช้ ก็น่าสนใจ หมายถึงเป็นแบบ 4 pin สองตัวประกบกันเป็น 8 pin และแยกกันได้เมื่อต้องการใช้แบบ 4 pin

4. ควรเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อกับฮาร์ดดิสก์หรือออปติคอลไดร์ฟแบบ SATA อย่างน้อย 4 ชุด ถ้ามากกว่าได้ก็ยิ่งดี

5. ถ้าคุณต้องการใช้กราฟิกการ์ดพลังสูงก็มองหาพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์ที่เรียกว่า PCI-E ซึ่งจะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ 6 pin อย่างน้อยหนึ่งเส้น แต่ถ้าจะให้ดีก็ดูรุ่นที่มันมี PCI-E 6 pin อย่างน้อยสักสองเส้นจะดีที่สุด

6. ถ้าคุณต้องการใช้กราฟิกการ์ดแบบ SLI หรือแบบ CrossFire ก็ให้มองหาพาวเวอร์ซัพพลายที่มีโลโก้ประเภท SLI Ready หรือ CrossFire Ready เอาไว้ได้เลย เพราะกราฟิกการ์ดพวกนี้จะต้องใช้พลังงานที่สูง

7. เลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายเป็นอุปกรณ์ตัวสุดท้าย โดยคุณควรจะทำการดูคู่มือของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละชิ้นก่อนว่าต้องการแรงดันไฟแต่ละแบบเป็นอย่าไร แล้วลองใช้วิธีคำนวณตามตัวอย่างตารางที่ 6 หรือถ้าขี้เกียจจริงๆ ก็ให้ลองสำรวจดูว่าคู่มือที่เราอ่านมานั้นมีอุปกรณ์ตัวไหนที่บอกว่าต้องใช้พาวเวอร์ซัพพลายขนาดกี่วัตต์ เท่าที่ลองใช้วิธีนี้ เราพบว่ากราฟิกการ์ดจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเลือกพาวเวอร์ซัพลายได้ดีที่สุด เพราะในคู่มือของกราฟิกการ์ดจะบอกเลยว่าควรจะใช้กับพาวเวอร์ซัพพลายขนาดกี่วัตต์

วิธีการดูแลรักษาเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

    Power Supply นั้นถือว่าเป็นส่วนที่เริ่มต้นทั้งหมดของชุดจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบัน Power Supply นั้นเป็นวงจรแบบ Switching ข้อดีของวงจรแบบนี้คือ ไฟที่ได้มีลักษณะที่เรียบ และ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแหล่งจ่ายไฟที่ให้กับ Power Supply อีกที่ แต่ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ Power ในลักษณะนี้นั้นหากมีไฟฟ้า กระชากเข้ามามาก ๆ ตัว Power นั้นจะเสียก่อนซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันไฟที่ดีให้กับตัวเมนบอร์ดไม่ให้เสียหายเนื่องจากมีราคาค่อนข้างแพงกว่า Power Supply มากรวมไปถึงอุปกรณ์ตัวอื่น ๆดังนั้นการดูแลรักษาอุปกรณ์นี้จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เราสามารถที่จะใช้งานได้ยาวนานขึ้น


Pinouts ของตัวเชื่อมต่อเมนบอร์ด ATX 2.x, 24-pin (ด้านบน) และ "P4" (ล่าง) สี่ขาเมื่อมองเข้าไปในด้านการจับคู่ของปลั๊ก


    PS_ON # (เปิดเครื่อง) เป็นสัญญาณจากเมนบอร์ดไปยังแหล่งจ่ายไฟ เมื่อสายไฟเชื่อมต่อกับพื้น (โดยเมนบอร์ด) แหล่งจ่ายไฟจะเปิดขึ้น มันถูกดึงภายในถึง 5 V ภายในแหล่งจ่าไฟ      PWR_OK ("power good") คือเอาต์พุตจากแหล่งจ่ายไฟที่ระบุว่าเอาท์พุทมีเสถียรภาพและพร้อมสำหรับการใช้งาน มันยังคงอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ (100-500 มิลลิวินาที) หลังจากที่ PS_ON # สัญญาณถูกดึง +5 VSB (+ 5 V สแตน) จ่ายไฟแม้ในขณะที่สายไฟที่เหลืออยู่หมด สามารถใช้วงจรไฟฟ้าที่ควบคุมไฟสัญญาณเปิดเครื่องได้
ความรู้สึก +3.3 V ควรเชื่อมต่อกับ +3.3 V บนเมนบอร์ดหรือขั้วต่อไฟ การเชื่อมต่อนี้ช่วยให้สามารถตรวจจับระยะไกลของแรงดันไฟฟ้าที่ลดลงในสายไฟจ่ายได้ ผู้ผลิตบางรายยังมีสายความรู้สึก +5 V (มักมีสีชมพู) เชื่อมต่อกับสายสีแดง +5 V ในบางรุ่นของแหล่งจ่ายไฟ แต่การรวมสายดังกล่าวเป็นวิธีปฏิบัติที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของ มาตรฐาน ATX อย่างเป็นทางการใด ๆ
โดยทั่วไปแรงดันไฟฟ้าภายในต้องอยู่ภายใน± 5% ของค่าที่ระบุตลอดเวลา แรงดันไฟฟ้าเชิงลบที่ใช้เพียงเล็กน้อยมีความทนทานต่อ± 10% มีข้อกำหนดสำหรับการกระเพื่อมใน 10 Hz-20MHz 


 
                24-pin ATX12V 2.x power supply connector

     
ColorSignalPinPinSignalColor
Orange+3.3 V113+3.3 VOrange
+3.3 V senseBrown
Orange+3.3 V214−12 VBlue
BlackGround315GroundBlack
Red+5 V416Power onGreen
BlackGround517GroundBlack
Red+5 V618GroundBlack
BlackGround719GroundBlack
GreyPower good820ReservedNone
Purple+5 V standby921+5 VRed
Yellow+12 V1022+5 VRed
Yellow+12 V1123+5 VRed
Orange+3.3 V1224GroundBlack
     ^พื้นหลังสีน้ำเงินหมายถึงสัญญาณควบคุม
     ^ พื้นหลังสีเขียวอ่อนหมายถึงหมุดที่มีเฉพาะในขั้วต่อ 24 ขาเท่านั้น
     ^ ในขั้วต่อ 20 ขาหมุด 13-22 มีหมายเลขลำดับ 11-20 ตามลำดับ
     ^ จัดหาพลังงาน +3.3 V และยังมีสายต่ำในปัจจุบันที่สองสำหรับการรับสัญญาณระยะไกล
     ^ สัญญาณควบคุมที่ดึงขึ้นไปที่ +5 V โดย PSU และต้องขับต่ำเพื่อเปิด PSU
     ^ สัญญาณควบคุมที่ต่ำเมื่อเอาท์พุทอื่น ๆ ยังไม่ถึงหรือกำลังจะออกไปแก้ไขแรงดันไฟฟ้า
     ^ ก่อนหน้านี้ -5 V (สายสีขาว) ขาดอุปกรณ์ไฟฟ้าสมัยใหม่; มันเป็นตัวเลือกใน ATX และ ATX12V v1.2 และลบตั้งแต่ v1.3





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องปริ้นแบบต่างๆ

ใบงานที่4 การจัดเวลาซีพียู (CPU Scheduling)