ระบบเสียงของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันและ การจัดลำโพงในแบบรอบทิศทางในแบบต่างๆ
ใบงานที่7
ระบบเสียงของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันและ การจัดลำโพงในแบบรอบทิศทางในแบบต่างๆ
อุปกรณ์ระบบเสียงของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย
1.ซาวนด์การ์ด
2.ลำโพงมัลติมีเดีย
ซาวนด์การ์ด คือ
Sound Card (การ์ดเสียง) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้ โดยจะทำหน้าที่ควบเรื่องเสียง อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ หรือสร้างเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง ๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card
ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
- A/D Converter 8 Bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของ สัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่าง จะมากขึ้นด้วย
Sound Card (การ์ดเสียง) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้ โดยจะทำหน้าที่ควบเรื่องเสียง อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ หรือสร้างเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง ๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card
ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
- A/D Converter 8 Bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของ สัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่าง จะมากขึ้นด้วย
ถ้าเราจะแบ่งชนิดของ Sound Card (ซาวนด์การ์ด) นั้น เราสามารถที่จะแบ่ง Sound Card ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆโดยนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันได้ดังต่อไปนี้
1. Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบ ISA
Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบนี้เป็น ซาวนด์การ์ด ที่ผลิตออกมานานแล้ว โดย ซาวนด์การ์ด แบบนี้จะใช้ร่วมกับเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่มีสล็อต ISA นี้ติดมาด้วย ถ้ามองกันในเรื่องของระบบเสียงแล้ว ยังไม่สามารถให้เสียงที่มีคุณภาพออกมาได้ แต่ก็ถือว่าเป็น Sound Card ที่โดดเด่นมากในสมัยนั้น แต่ในปัจจุบัน Sound Card แบบนี้ไม่มีให้เห็นกันแล้ว
2. Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบ PCI
โดย ซาวนด์การ์ด แบบนี้ถือว่าเป็น Sound Card ที่มีให้เห็นกันมากทั่วไปตามตลาดไอทีในบ้านเรา ซึ่งไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็คงจะเห็น ซาวนด์การ์ด แบบนี้วางขายอยู่อย่างมากมาย อีกทั้งยังสามารถสังเคราะห์เสียงออกมาได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้ Sound Card แบบนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งก็มีให้เลือกใช้ตามอัธยาศัย ทั้งที่ราคาถูกจนเหลือเชื่อและที่ราคาแพงมากๆ จนทำให้หลายคนต้องเปลี่ยนความคิดมาใช้ ซาวนด์การ์ด แบบธรรมดาแทน
3. Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบ External
จริงๆ แล้วเขาแบ่ง Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ออกได้เป็น 2 ประเภท แต่ที่จัด Sound Card แบบ External ออกเป็นประเภทที่ 3 ก็เพราะว่าซาวนด์แบบนี้เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้นแล้ว อีกทั้งยังมีการติดตั้งที่แตกต่างจาก ซาวนด์การ์ด (Sound Card) ที่บอกมาข้างต้นด้วย โดยสามารถที่จะติดตั้งโดยผ่านทางพอร์ต USB ทำให้ในการใช้งานนั้นสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
พอร์ตต่างๆ ที่มักพบบนSound Card (ซาวนด์การ์ด)
1. ช่องต่อกับลำโพง ซึ่งมาพร้อมกับส่วนขยายสัญญาณ ( Amplified Speakers )
2. ช่อง Line-In ซึ่งเป็นช่องรับสัญญาณเข้าที่เป็นแอนะล็อก ซึ่งอาจจะเป็นช่องรับสัญญาณข้อมูลเสียงจากไมโครโฟน เครื่องเล่นซีดีหรือเครื่องเล่นเทป ฯลฯ
3. ช่อง Line-Out ซึ่งเป็นช่องที่ส่งสัญญาณแอนะล็อกออกไปยังอุปกรณ์ต่อเชื่อมต่างๆ
4. ช่องต่อ Digital-In ซึ่งตามปกติพอร์ตนี้ จะติดตอยู่กับตัวการ์ดเลย ซึ่งช่องสัญญาณดังกล่าวจะใช้รับสัญญาณดิจิตอล ที่เห็นส่วนมากคือจะใช้ต่อเข้ากับเครื่อง CD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์
5. ช่องต่อ Digital-Out ช่องนี้จะใช้สำหรับส่งสัญญาณดิจิตอลออกไปสู่อุปกรณ์หรือสื่อบันทึกข้อมูลแบบต่างๆ
6. ช่องต่อ HeadPhone หรือช่องต่อหูฟัง จำนวนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ที่ได้บอกมาข้างต้นนี้ จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของSound Card (ซาวนด์การ์ด)นั้นๆ ยิ่งSound Card (ซาวนด์การ์ด)ที่ มีการทำงานในแบบหลายแชนแนล ไม่ว่าจะเป็นแบบ 4.1, 5.1, 6.1 หรือ 7.1 แชนแนล ถ้าพอร์ตที่ได้บอกมานี้มีมากเท่าไร ก็จะทำให้ในการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำได้หลากหลายมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งSound Card (ซาวนด์การ์ด)รุ่น ใหม่ๆ ที่เราเห็นนั้น ได้ผลิตพอร์ตเชื่อมต่อที่แปลกใหม่ออกมาอยู่เรื่อยๆ เช่น พอร์ต Optical In, พอร์ต Optical Out, พอร์ต MIDI (In-Out) ทำให้Sound Card (ซาวนด์การ์ด)นั้นๆ มีความสามารถที่มากยิ่งขึ้น
2. ช่อง Line-In ซึ่งเป็นช่องรับสัญญาณเข้าที่เป็นแอนะล็อก ซึ่งอาจจะเป็นช่องรับสัญญาณข้อมูลเสียงจากไมโครโฟน เครื่องเล่นซีดีหรือเครื่องเล่นเทป ฯลฯ
3. ช่อง Line-Out ซึ่งเป็นช่องที่ส่งสัญญาณแอนะล็อกออกไปยังอุปกรณ์ต่อเชื่อมต่างๆ
4. ช่องต่อ Digital-In ซึ่งตามปกติพอร์ตนี้ จะติดตอยู่กับตัวการ์ดเลย ซึ่งช่องสัญญาณดังกล่าวจะใช้รับสัญญาณดิจิตอล ที่เห็นส่วนมากคือจะใช้ต่อเข้ากับเครื่อง CD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์
5. ช่องต่อ Digital-Out ช่องนี้จะใช้สำหรับส่งสัญญาณดิจิตอลออกไปสู่อุปกรณ์หรือสื่อบันทึกข้อมูลแบบต่างๆ
6. ช่องต่อ HeadPhone หรือช่องต่อหูฟัง จำนวนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ที่ได้บอกมาข้างต้นนี้ จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของSound Card (ซาวนด์การ์ด)นั้นๆ ยิ่งSound Card (ซาวนด์การ์ด)ที่ มีการทำงานในแบบหลายแชนแนล ไม่ว่าจะเป็นแบบ 4.1, 5.1, 6.1 หรือ 7.1 แชนแนล ถ้าพอร์ตที่ได้บอกมานี้มีมากเท่าไร ก็จะทำให้ในการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำได้หลากหลายมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งSound Card (ซาวนด์การ์ด)รุ่น ใหม่ๆ ที่เราเห็นนั้น ได้ผลิตพอร์ตเชื่อมต่อที่แปลกใหม่ออกมาอยู่เรื่อยๆ เช่น พอร์ต Optical In, พอร์ต Optical Out, พอร์ต MIDI (In-Out) ทำให้Sound Card (ซาวนด์การ์ด)นั้นๆ มีความสามารถที่มากยิ่งขึ้น
ระบบเสียงเซอร์ราวน์ (Surround Sound System) หรือระบบเสียงรอบทิศทางนั้น เป็นความพยายามที่จะสร้างระบบเสียงให้มีความสมจริงมากที่สุด โดยนิยมใช้กับเครื่องเสียงเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการชมภาพยนตร์เป็นส่วนใหญ่ จากเดิมที่ใช้ลำโพงทางด้านหน้าเพียง 2 ตัวในตำแหน่งซ้ายและขวา ก็ดเพิ่มจำนวนลำโพงในตำแหน่งอื่นๆ เข้าไปเพื่อนให้สามารถแสดงเสียงได้ละเอียดมากขึ้น
ลำโพงแบบ2.1

ลำโพงแบบ 2.1 แชนแนลก็ประกอบไปด้วยลำโพงด้านหน้าซ้าย/ขวา และลำโพงซับบวูฟเฟอร์เพื่อนใช้ขับเสียงทุ้มอีก 1 ตัวรวมเป็น 3 ตัว ซึ่งลำโพงแบบนี้จะให้คุณภาพเสียงในระดับพื้นฐานที่ดีกว่าแบบสเตอริโอ 2 ตัวธรรมดาเล็กน้อย เพราะมีการนำลำโพงซับวูฟเฟอร์แยกออกมาต่างหากจึงทำให้ได้เสียงทุ้มที่ดีกว่าแบบธรรมดา
ลำโพงแบบ4.1

ลำโพงแบบ 4.1 จะเพิ่มลำโพงเซอร์ราวน์ด้านหลังขึ้นมาอีก2ตัวคือซ้ายและขวารวมเป็น5ตัวจึงทำให้ได้คุณภาพเสียงดีกว่าลำโพงแบบ 2.1 สำหรับลำโพงแบบ 4.1 นี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการระบบเสียงทีมีคุณภาพคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป เพราะในปัจจุบันการ์ดเสียงทั้งหมดจะรองรับการต่อลำโพงแบบ 4.1 ได้และยังถือว่าเป็นรูปแบบของลำโพงต่ำสุดที่การ์ดเสียงควรจะทำได้อีกด้วย
ลำโพงแบบ5.1

ลำโพงแบบ 5.1 จะเพื่มลำโพงด้านหน้าตรงกลางขึ้นมาอีก 1 ตัวรวมเป็น 6 ตัว โดยลำโพงแบบ 5.1 จะรองรับระบบเสียงแบบ Dolby Digital หรือ DTS ด้วย เพื่อให้การชมภาพยนตร์มีคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น ในปัจจุบันการ์ดเสียงส่วนมากมักจะรองรับการต่อลำโพงแบบ 5.1 ไม่เว้นแม้แต่การ์ดเสียงแบบออนบอร์ด ลำโลงแบบ 5.1 ที่มีขายในเมืองไทยจะอยู่ 2 แบบคือ แบบที่มีตัวถอดรหัส AC-3 หรือ DTS กันแบบที่ไม่มีตัวถอดรหัสเสียง
วิธีการวางแบบลำโพง 5.1

ลำโพงแบบ6.1
ลำโพงแบบ6.1 ได้เพิ่มเซอร์ราวน์ด้านหลังตรงกลางขึ้นมาอีก 1 ตัวรวมเป็น7ตัว และยังลองรับระบบเสียง Dolby Digital EX หรือ DTS ES อีกด้วย สำหรับลำโพงที่ลองรับแบบ 6.1 ในเมืองไทยพบเห็นได้น้อยมาก รุ่นหนึ่งก็คือ Creative Inspire 6600 เพราะส่วนใหญ่จะข้ามการผลิตลำโพงแบบ 6.1 ไปผลิตแบบ 7.1
ลำโพงแบบ7.1

ลำโพงแบบ 7.1 เป็นการพัฒนาต่อจากลำโพงแบบ 5.1 (ไม่ใช่จาก6.1) โดยเพิ่มลำโพงเซอร์ราวน์ ตรงกลาง(ระหว่างด้านหน้าและหลังอีก2ตัว ซ้ายและขวา รวมเป็น8ตัว) รวมถึงการลองรับระบบเสียง Dolby Digital EX หรือ DTS ES เช่นเดียวกับลำโพงแบบ 6.1
วิธีการวางแบบลำโพง 7.1

ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น